กบร. รับร่างโรดแม็พแผนฟื้นฟูฯ การบิน ปี 65-68 หลังเจอโควิดหนักสุดในรอบ 10 ปี
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ว่า ที่ประชุมมีมติรับร่าง Roadmap แผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน ปี 65-68 และร่างนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศ ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญต่อการช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน และเศรษฐกิจของไทย ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืน แข่งขันได้ในระดับสากล อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินของของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี โดยปี 63 มีผู้โดยสารลดลงจากปี 62 ถึง 64.7% และปริมาณเที่ยวบินลดลง 53.1% ส่วนปี 64 ผู้โดยสารลดลงจากปี 63 ถึง 64.1% และปริมาณเที่ยวบินลดลง 48.5% ส่งผลให้การจ้างงานในอุตสาหกรรมการบินลดลง 20.88% และรายรับในการประกอบการการบินลดลงมากถึง 70.96%
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ประมาณการการฟื้นตัวของผู้โดยสาร ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ว่า อุตสาหกรรมการบินจะฟื้นตัวกลับเข้าสู่สภาวะปกติใน 2-3 ปี ข้างหน้า ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม และรองรับการฟื้นตัวที่จะเกิดขึ้น กพทคำพูดจาก สล็อตpg. จึงได้ศึกษา และจัดทำแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรม และปรับปรุง เพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน ปี 65-68
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับกรอบแนวคิดและแผนปฏิบัติของแผนฯ มุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมการบินสามารถ “อยู่รอด เข้มแข็ง และยั่งยืน” โดยในปี 65 มีเป้าหมายระยะ Quick-win ตามมาตรการ “อยู่รอด” คือ อุตสาหกรรมการบินมีความพร้อมสำหรับเปิดทำการบินเต็มรูปแบบภายในปี 65 มีเป้าหมาย เช่น ผู้ประกอบการการบินสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในช่วงที่ยังคงมีการระบาด โดยมีกลยุทธ์ในการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวก พัฒนาความร่วมมือขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน เพื่อกระตุ้นความต้องการในการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ พร้อมกับการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ประกอบการ เพื่อให้ยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติการบิน
ส่วนปี 66-68 เป็นเป้าหมายระยะกลางตามมาตรการ “เข้มแข็ง และ ยั่งยืน” คือ ประเทศไทยมีความพร้อมของอุตสาหกรรมการบินที่จะรองรับการจราจรทางอากาศเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติหรือเทียบเท่ากับปี 62 ในปี 68 ที่มีจำนวนผู้โดยสารสูงถึง 165 ล้านคน และจำนวนเที่ยวบิน 1.07 ล้านเที่ยวบิน โดยมีเป้าหมาย เช่น สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยระบบกำกับดูแลทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการเดินทางแบบ New Normal ในอุตสาหกรรมการบิน รวมถึงพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน โดยการพัฒนาสถาบันฝึกอบรมให้เป็นที่ยอมรับ รวมทั้งยกระดับมาตรฐานใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ของไทยให้ทัดเทียมสากล เป็นต้น
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ กพท. จะส่งร่างฯ ให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็น ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป สำหรับร่างนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศนั้น มีรายละเอียดหลัก 3 ด้าน คือ 1. ด้านเศรษฐกิจการบิน มีเป้าหมายหลัก เช่น พัฒนาระบบบริหารนโยบายเศรษฐกิจการบินพลเรือน ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมความเข้มแข็งของผู้ประกอบการการบินของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และเชื่อมโยงโครงข่ายเที่ยวบิน เพื่อการเป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค พัฒนาให้ประชาชนเข้าถึงการบริการขนส่งทางอากาศในเส้นทางการบินภายในประเทศได้อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมในอัตราค่าบริการที่เป็นธรรม พร้อมกับการพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคให้ครอบคลุม
2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มุ่งหวังเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดสรร และจัดการห้วงอากาศอย่างทั่วถึง และคุ้มค่า พัฒนาระบบการเดินอากาศอย่างเชื่อมโยง พัฒนาให้เกิดระบบท่าอากาศยานอัจฉริยะที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมถึงพัฒนาทุนมนุษย์ และทุนปัญญาที่สอดคล้องกับมาตรฐาน และความต้องการในปัจจุบัน และอนาคตรวมถึงสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และ 3. ด้านมาตรฐานการบิน เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมการบิน เช่น ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการบิน ลดผลกระทบทางเสียงจากอากาศยาน จัดทำแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติให้มีประสิทธิผล มีการระบุและจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่จะช่วยส่งเสริมความปลอดภัย และประสิทธิภาพของระบบการบินของประเทศ ทั้งนี้ร่างดังกล่าวจะจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริงต่อไป ถือเป็นนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศที่เป็นรูปธรรมฉบับแรกของไทย
นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า ได้สั่งการให้ กพท. หารือร่วมกับสนามบิน สายการบิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับจำนวนผู้โดยสาร ทั้งเที่ยวบินภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากมาตรการการผ่อนคลายการเข้าประเทศของรัฐบาล โดยเฉพาะช่วงเทศกาลวันหยุดยาวที่มีความต้องการเดินทางทางอากาศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งข้อมูลจาก IATA คาดการณ์ว่าภายในปี 65 ประเทศไทยจะมีนักท่องเที่ยวประมาณ 22 ล้านคน และจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการด้านการบินอาจกลับเข้าสู่ภาวะปกติเร็วขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในปี 68คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง