“กัมพูชายังมีพื้นที่ให้เติบโต” โอกาสของธุรกิจวิทยุการบิน “สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส…
ถ้าพูดถึงประเทศเพื่อนบ้าน “กัมพูชา” บางคนอาจมองว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ยังคงขาดอะไรหลาย ๆ อย่าง และคงต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรกว่าจะก้าวตามทันประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งของ “ความขาด” นี้ ก็คือ “โอกาส” ในการทำธุรกิจต่าง ๆ นั่นทำให้ขณะนี้กัมพูชากำลังกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของนักลงทุน ยังไม่นับความรุ่มรวยทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ทำให้เพื่อนบ้านของเราคนนี้ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายเพื่อการท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักเดินทางจากทั่วโลก
องค์ประกอบข้างต้นส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ “อุตสาหกรรมการบิน” กลับสู่ช่วงขาขึ้นในกัมพูชา โดยปัจจุบันสถิติการเดินทางทางอากาศโตขึ้นด้วย 18 เส้นทางบินระหว่างประเทศ 20 เส้นทางบินในประเทศ จากสนามบินทั้ง 6 แห่งของประเทศ
หนึ่งในธุรกิจการบินที่มีแนวโน้มที่ดีคือ ธุรกิจบริการด้านวิทยุการบินของ บริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) ซึ่งมี บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAV ของ บริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART เป็นผู้ถือหุ้น 100%
คุณวัฒนชัย วิไลลักษณ์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายพัฒนากลยุทธ์องค์กร และพัฒนาธุรกิจใหม่ SAMART เปิดเผยว่า “กลุ่มสามารถได้ทำการลงทุนในหลากหลายกลุ่มธุรกิจมามากกว่า 60 ปี โดยในส่วนของธุรกิจด้านการบิน ได้ลงทุนที่ประเทศกัมพูชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ผ่าน บมจ.สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ (SAV)”
คุณวัฒนชัยเสริมว่า “ทั้งนี้ SAV เป็นบริษัทเดียวที่ได้รับสัมปทานด้านการให้บริการวิทยุการบินแบบครบวงจรในประเทศกัมพูชา โดยบริษัทฯ ได้ลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดระยะเวลา 21 ปีที่ผ่านมา พร้อมขยายระยะเวลาสัมปทานอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ครอบคลุมระยะเวลานานถึง 49 ปี ทำให้ธุรกิจของ SAV มีเสถียรภาพอย่างสูง และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง”
ด้าน คุณธีระชัย พงษ์พนาราม กรรมการผู้จัดการใหญ่ SAV เล่าว่า ช่วงปี 1990 กลุ่มสามารถได้เข้ามาลงทุนในกัมพูชา โดยเริ่มจากธุรกิจด้านโทรศัพท์มือถือก่อน จากนั้นในปี 2000 กัมพูชาเริ่มมีนโยบายเปิดน่านฟ้า (Open Sky Policy) ซึ่งในขณะนั้นกัมพูชาแบบไม่มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับนโยบายนี้เลย สนามบินที่มีก็ค่อนข้างเก่า จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะลงทุนในด้านนี้
อย่างที่ระบุไว้ข้างต้นว่า SAV ถือหุ้น 100% ของ CATS ซึ่งเป็นเป็นผู้ให้บริการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ (Air Navigation Service Provider: ANSP) แต่เพียงรายเดียวสำหรับทุกสนามบินในประเทศกัมพูชา และได้สัมปทานจนถึงปี พ.ศ. 2594 ทำให้ไม่มีในเรื่องของคู่แข่งทางธุรกิจ ส่วนปัจจัยเสี่ยงในการลงทุนก็ค่อนข้างน้อย เพราะจะแปรผันตามสถานการณ์การบินในประเทศ
คุณธีระชัยบอกว่า รายได้หลักของ CATS มาจากบริการควบคุมการจราจรทางอากาศ 3 ประเภท ได้แก่
- รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงในประเทศ (Landing & Take-off: Domestic) เป็นรายได้ค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศที่ CATS เรียกเก็บจากสายการบินที่มีการทำการบินขึ้น-ลงที่สนามบินภายในประเทศกัมพูชา ซึ่งสายการบินดังกล่าวมีเส้นทางการบินอยู่ภายในประเทศกัมพูชาเท่านั้น
- รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงระหว่างประเทศ (Landing & Take-off: International) เป็นรายได้ค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศที่ CATS เรียกเก็บจากสายการบินที่มีการทำการบินขึ้น-ลงที่สนามบินภายในประเทศกัมพูชา ซึ่งสายการบินดังกล่าวมีเส้นทางการบินระหว่างประเทศกัมพูชากับประเทศอื่น ๆ
- รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชา (Overflight) เป็นรายได้ค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศที่ CATS เรียกเก็บจากสายการบินที่มีการนำเครื่องบินบินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชา (Phnom Penh FIR) จากท่าอากาศยานแห่งหนึ่งนอกประเทศกัมพูชา ไปยังอีกท่าอากาศยานหนึ่งนอกประเทศกัมพูชา ซึ่งมิได้มีการนำเครื่องบินลงจอดในสนามบินประเทศกัมพูชา
ปัจจุบันกัมพูชามีสนามบิน 6 แห่ง เป็นสนามบินที่ให้บริการการบินทั้งในและระหว่างประเทศ 3 แห่ง คือ สนามบินนานาชาติพนมเปญ (Phnom Penh International Airport) สนามบินนานาชาติเสียมเรียบ (Siem Reap International Airport) และสนามบินนานาชาติสีหนุ (Sihanouk International Airport)
และสนามบินซึ่งให้บริการเฉพาะการบินภายในประเทศเท่านั้นมี 3 แห่ง คือ สนามบินพระตะบอง (Battambang Airport) สนามบินเกาะกง (Koh Kong Airport) และสนามบินสตึงเตรง (Stung Treng Airport)
เปิด 10 ค่ายผู้เล่น "ตลาดรถยนต์บินได้" อีก 8 ปีโตเกิน 6.18 แสนล้านบาท
“การบินไทย” นำเครื่อง เอ320 ไทยสมายล์ 4 ลำเข้าฝูง เริ่มบินอินเดีย 1 ก.ค.นี้
ชาวเน็ตแห่แชร์ ปัญหาทางเลื่อนสนามบินดอนเมือง เคยเกิดขึ้นปี 62 คำพูดจาก เว็บสล็อต777
ที่น่าสนใจคือ กัมพูชากำลังจะเกิดให้บริการสนามบินนานาชาติใหม่อีก 3 แห่ง คือ สนามบินนานาชาติดาราสาคร เปิดบริการไตรมาส 4 ปีนี้ ซึ่งในระยะยาวคาดว่าจะรองรับนักเดินทางได้ 10 ล้านคน, สนามบินนานาชาติเสียมเรียบใหม่ เปิดให้บริการไตรมาส 4 ปีนี้เช่นกัน จุดเด่นคือรันเวย์ที่ใหญ่ รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ คาดปี 2050 จะรองรับนักเดินทางได้ 20 ล้านคน และสนามบินนานาชาติพนมเปญใหม่ เปิดปี 2024 ใช้เงินลงทุนถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.2 หมื่นล้านบาท) ตอนเปิดจะรองรับนักเดินทางได้เลย 10 ล้านคน และในปี 2050 จะรองรับได้ 30 ล้านคน
นั่นหมายความว่า อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการบินกัมพูชา กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และนั่นคือโอกาสของ SAV
คุณธีระชัยบอกว่า “มีบริษัทวิจัยนานาชาติคาดว่าในปี พ.ศ. 2567 จำนวนนักเดินทางเข้าออกกัมพูชาจะเพิ่มมากกว่าก่อนโควิด-19 และจำนวนเที่ยวบินในกัมพูชาจะเพิ่มเป็น 134,000 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจาก 100,000 เที่ยวบินที่คาดการณ์ในปี พ.ศ. 2566 เนื่องจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ โดยเฉพาะจากประเทศจีนซึ่งน่าจะกลับมาอย่างชัดเจนในต้นปีหน้า โดยล่าสุดจำนวนเที่ยวบินจากประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
ขณะที่ คุณธีรภัทร กุลกิจกําจร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) กล่าวว่า “กัมพูชาพัฒนามาเยอะมาก เห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการมีตึกสูงมากขึ้น มีโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น”
เขาเสริมว่า “โดยภาพรวม กัมพูชามีแนวโน้มดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย GDP โต 5.2% อัตราว่างงานอยู่ที่เพียง 0.4% เท่านั้น แต่เงินเฟ้อที่นี่ยังแรง 5.3%”
คุณธีรภัทรบอกว่า ปัจจุบัน รัฐบาลกัมพูชามุ่งหน้าดึงดูดผู้มาเยือน ทั้งกลุ่มนักลงทุนจากต่างประเทศและนักท่องเที่ยว โดยปรับกฎหมายการลงทุน ลดภาษี สร้างความน่าลงทุนมากขึ้น รวมถึงปรับกฎหมายท่องเที่ยวให้เป็นระบบ เน้นขายจุดอันซีน รักษาสิ่งแวดล้อม ห้ามมีตึกสูงรอบสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าตื่นเต้นคือ นักท่องเที่ยวปีที่แล้วทั้งปีอยู่ที่ 2.2 ล้าน แตต่ไตรมาสแรกของปี 2023 นี้ มีผู้มาเยือน 2.1 ล้านคนแล้ว
ด้านคุณธีระชัยเสริมว่า “กัมพูชามีพัฒนาการ โดยเฉพาะช่วงก่อนโควิด-19 ตัวเลข GDP เคยแตะสองหลักมาแล้ว ดังนั้น แม้ฐานกัมพูชาจะไม่ใหญ่ แต่ไปได้เร็ว … อุตสาหกรรมการบินโอกาสเติบโตยังสูงหลังโควิด-19 เรามีพื้นที่ที่จะเติบโตอีก”
ในปี 2565 SAV มีรายได้รวม เท่ากับ 1,220 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายได้รวม 761 ล้านบาท ในปีก่อนหน้า และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 199.5 โดยหลังจากผ่านพ้นวิกฤติโควิด 19 และมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวทั้งในประเทศกัมพูชาและประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
กรรมการผู้จัดการใหญ่ SAV บอกว่า “ในปี พ.ศ. 2565 SAV มีรายได้รวมเท่ากับ 1,220 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายได้รวม 761 ล้านบาทในปีก่อนหน้า และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 199.5 โดยหลังจากผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 และมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวทั้งในประเทศกัมพูชาและประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นอีกครั้ง”
คุณธีระชัยเน้นว่า “ธุรกิจเราไม่มีความเสี่ยง เพราะการจัดการน่านฟ้ามีได้แค่เจ้าเดียว … ช่วงก่อนโควิด-19 การเติบโตของรายได้อยู่ในช่วง 11-12% พอช่วงโควิด-19 ก็ตกลงไปมาก ปีที่แล้วก็เลยโตกลับมา 120% ปีนี้คาดโต 40% เพราะฐานยังไม่กลับมาเท่าระดับก่อนโควิด-19”
เขาบอกว่า ปัจจัยเสี่ยงของธุรกิจวิทยุการบินในกัมพูชาคือ สถานการณ์เหนือความคาดหมายที่ควบคุมไม่ได้ต่าง ๆ เช่น โควิด-19 ส่วนที่เหลือจะขยับขึ้นลงตามอุตสาหกรรมการบิน
คุณวัฒนชัยกล่าวสรุปว่า “หาก SAV เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์จะเป็นการปลดปล่อยศักยภาพของกลุ่มสามารถ เนื่องจาก SAV เป็นบริษัทที่มีศักยภาพสูง อยู่ในอุตสาหกรรมการบินที่เติบโตสูงและต่อเนื่อง อีกทั้งมีผลการดำเนินงานที่ดี ธุรกิจมีความมั่นคงสูง มีความสามารถในการทำกำไรสูง เป็นธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อีก โดย SAV จะเป็นหุ้นวิทยุการบินหุ้นแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเป็นหุ้นหนึ่งเดียวที่ได้ประโยชน์จากท่องเที่ยวและการลงทุนในอาเซียน”
SAV เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในไตรมาส 3 นี้ พร้อมเตรียมเสนอขายหุ้นไอพีโอ จำนวนไม่เกิน 224,000,000 หุ้น หรือไม่เกินร้อยละ 35 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ โดยมูลค่าที่ตราไว้เท่ากับ 0.50 บาทต่อหุ้น เพื่อระดมทุนรองรับการขยายธุรกิจ และชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน รวมถึงรองรับโอกาสในการเติบโตของธุรกิจในอนาคต และมีนโยบายจ่ายเงินปันผลสูงถึง 50% ของกำไรสุทธิ
ภาพจาก AFP