แนวคิด ESG ทลายข้อจำกัดการค้าต่างประเทศ เอกชนไทยไม่ควรมองข้าม
รู้จัก ESG ตัวเปลี่ยนเกมธุรกิจ เปิดโอกาสสร้างอนาคตยั่งยืน
“กรุงไทย” ผนึก “ปตท.” ทำสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงเชื่อมโยงคาร์บอนเครดิต
ESG ดำเนินธุรกิจมุ่งเน้นอย่างยั่งยืน
ESG คือแนวคิดพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ย่อมาจาก Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) เป็นการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนที่บริษัทจดทะเบียนควรจะทำ
คำนึงสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 หรือน้ำเสีย การกำจัดขยะ การปล่อยคาร์บอน (CO2) เป็นต้น
คำนึงสังคม เช่น มีทักษะที่หลากหลายในการบริหาร และในองค์กร การดูแลพนักงงาน ความปลอดภัยในโรงงาน การพัฒนาบุคลากร การดูแลชุมชุนรอบข้างบริษัท การสร้างผลตอบแทนคืนสู่สังคม เป็นต้น
คำนึงธรรมาภิบาล เช่น ความโปร่งใสในการบริหารบริษัท มีระบบบริหารความเสี่ยง กระบวนการตรวจสอบมีความเข้มแข็ง ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลบริษัท เป็นต้น
ดร.ศรพล ตุลนะเสถียร รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ESG ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ ตลาดทรัพย์ฯ ทำมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะเรื่องธรรมาภิบาล ตั้งแต่หลังเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง เช่น กำหนดให้มีกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ, ตั้งสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD), กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR), รายชื่อหุ้นยั่งยืน (THSI), จัดตั้ง ESG academy และทำระบบ ESG Data Platform เป็นต้น
“เราอยากให้บริษัทจดทะเบียนนำเรื่องความยั่งยืนใส่เข้าไปในการทำงานของเขา และอยากให้นักลงทุน ลงทุนในบริษัทที่ทำเรื่องเหล่านั้น” ดร.ศรพล กล่าว
นอกจากนี้จากการสำรวจและวิจัยในหลายประเทศ พบว่านักลงทุนสถาบันพอร์ตส่วนใหญ่จะลงทุนกับองค์กรที่ดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG มากขึ้น และยังให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตามหนึ่งในด้านการลงทุนที่เกี่ยวกับ ESG ที่กำลังได้รับความนิยม คือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยขณะนี้หลายประเทศเริ่มตระหนักเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนมาก และเริ่มมีกฎต่าง ๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green) ในหลายประเทศ
ซึ่งอาจจะเป็นข้อจำกัดในการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้ เช่น สหภาพยุโรป (EU) เริ่มใช้มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) เป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภท เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในยุโรป
ดังนั้นสินค้าไทยที่ส่งออกไปยุโรป หากมีคาร์บอนเกินกว่าระดับที่ยุโรปกำหนด จะต้องเสียภาษีนำเข้าคาร์บอน และอาจกระทบการแข่งขันในตลาดได้
สำหรับมาตรการคาร์บอนในต่างประเทศที่จะส่งกระทบต่อการส่งออกไทย เช่น มาตรการ CBAM ของยุโรป กระทบอยู่ที่ 6,890 ล้านบาท มาตรการของจีน ตลาดคาร์บอนลดการกีดกันทางการค้าจากกรณีสิ่งแวดล้อม (National Carbon Trading Market) กระทบอยู่ที่ 13,696 ล้านบาท และมาตรการของสหรัฐอเมริกา (Fair Transition and Compewtition Act) กระทบอยู่ที่ 38,736 ล้านบาท ขณะที่หลาย ๆ ประเทศก็เริ่มจะมีมาตรการในลักษณะเหล่านี้ออกมาเช่นเดียวกัน
โดยเฉพาะในไทยกำลังจะมีการผลักดัน พ.ร.บ.โลกร้อน เป็นกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแห่งชาติ ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการค้าการลงทุนสีเขียว และตลาดคาร์บอนเครดิต
ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการให้บริษัทจดทะเบียนที่ทำธุรกิจตามหลัก ESG สามารถเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้กับนักลงทุน มีการตรวจสอบและที่มาของแหล่งข้อมูลได้ มีการวัดผลประเมินอย่างต่อเนื่อง และมีการรับรองผลตรวจสอบ
สำหรับนักลงทุนที่ต้องการดูข้อมูลผลการทำ ESG ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สามารถเข้าดูได้ที่ SET SMART (เสียเงิน) และ www.set.co.th (ดูฟรี)
ทั้งนี้บริษัทจดทะเบียนยังสามารถระดมทุนในการทำ ESG ได้ ผ่านเครื่องมือทางการเงินในไทย
- ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) ล่าสุดมีการระดมทุนแล้ว 120,745 ล้านบาท
- วงเงินสินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของธนาคารไทย (Green loan) ล่าสุดมีการระดมทุนแล้ว 90,251 ล้านบาท
- กองทุนได้มีลงทุนในบริษัทที่ทำ ESG รวมอยู่ที่ 13,418 ล้านบาท
ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการส่งเสริมบริษัทจดทะเบียนในการทำ ESG ประกอบด้วย
- สนับสนุน ESG academy เป็นช่องทางความรู้ และเครื่องมือ
- ให้คำปรึกษาเชิงลึก และเตรียมความพร้อมให้บริษัทจดทะเบียน
- ส่งเสริมให้เปิดเผยข้อมูล หรือรายงานหลังทำ ESG และเป็นศูนย์กลางข้อมูลในการตัดสินใจทางธุรกิจและการลงทุน
- พัฒนาแผนการจัดการพลังงาน และทรัพยากรของตลาดหลักทรัพย์ มีส่วนรวมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero
นอกจากนี้รัฐได้มีการเปิด ตลาดคาร์บอน (Carbon Market) หรือ ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต บริหารโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยเป็นเครื่องมือช่วยลดโลกร้อน โดยทำให้บริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต้องมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะต้องคำนวณว่าปล่อยปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเท่าไหร่ และจากนั้นจะต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตในตลาดซื้อขาย ส่วนผู้ที่ขายคาร์บอนเครดิต คือ บริษัทที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ ทำโครงการสีเขียวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สรุปง่าย ๆ คือ บริษัทยิ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาจำนวนมาก ก็จะต้องเสียเงินซื้อคาร์บอนเครดิตมากขึ้น เพื่อชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลก และหากอยากจะลดต้นทุนดังกล่าว บริษัทก็ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลงนั่นเอง
นอกจากนี้รัฐได้มีการเปิด ตลาดคาร์บอน (Carbon Market) หรือ ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต บริหารโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยเป็นเครื่องมือช่วยลดโลกร้อน โดยทำให้บริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต้องมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะต้องคำนวณว่าปล่อยปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเท่าไหร่ และจากนั้นจะต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตในตลาดซื้อขาย ส่วนผู้ที่ขายคาร์บอนเครดิต คือ บริษัทที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ ทำโครงการสีเขียว
ดังนั้นบริษัทยิ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาจำนวนมาก ก็จะต้องเสียเงินซื้อคาร์บอนเครดิตมากขึ้น เพื่อชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลก และหากอยากจะลดต้นทุนดังกล่าว บริษัทก็ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลงนั่นเอง
สรุป ESG คือแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล เป็นการดำเนินธุรกิจที่ไม่คำนึงผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงสังคมและโลกเราด้วย โดยเฉพาะเรื่องภาวะโลกร้อน ก็เป็นหนึ่งในหลัก ESG ที่หลายประเทศกำลังให้ความสนใจ ซึ่งทำให้เริ่มมีมาตรการส่งเสริมให้เอกชนลดก๊าซคาร์บอนกันมากขึ้น บริษัทไหนที่ปล่อยคาร์บอนจำนวนมากก็จะยิ่งมีต้นทุนที่มากขึ้น เพื่อชดเชยการก่อมลพิษให้กับโลก หรืออาจส่งสินค้าไปขายในบางประเทศที่รณรงค์ลดคาร์บอนได้ยากขึ้น
รูปภาพ/ข้อมูล : SET, ThaiBMA, TGO, AFP