ประวัติ “ฮุนเซน” แขกคนสำคัญบ้านจันทร์ส่องหล้า
กระทั่งวันที่ 21 ก.พ. แขกคนสำคัญ คนแรก อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา สมเด็จฮุนเซน เช่าเครื่องบินเหมาลำ ด้วยเที่ยวบิน GN 467 จากกรุงพนมเปญ ตรงมายังสนามบินดอนเมือง ก่อนเดินทางไปยังบ้านจันทร์ส่องหล้า เพื่อเข้าเยี่ยมอาการป่วยของ “ทักษิณ” และรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน
แม้จะใช้เวลาเยี่ยมเยือนเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่นั่นก็เป็นภาพสัญญะที่แสดงให้เห็นว่าอดีตนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 มีความสนิทแนบชิดกันมาก
“ฮุนเซน” ถึงบ้านจันทร์ส่องหล้า เข้าเยี่ยม “ทักษิณ” พร้อมกินข้าวร่วมกัน คำพูดจาก สล็อตทรูวอเลท
“สมเด็จ ฮุน เซน” โพสต์ภาพเยี่ยม “ทักษิณ” ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า
สำหรับ “ทักษิณกับฮุนเซน” มีการรายงานว่า ทั้ง 2 รู้จักกันครั้งแรกเมื่อปี 2535 สมัย ทักษิณ เป็นนักธุรกิจด้านไอทีและโทรคมนาคม โดยไปลงทุนในกัมพูชาสมัยฮุนเซน เป็นนายกรัฐมนตรี จนสานสร้างสัมพันธมิตรไมตรีต่อกัน
ช่วง “ทักษิณ” ถูกรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ต้องลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ “ทักษิณ” มักจะบินมา เยือนกัมพูชาเพื่อพบปะกับ“ฮุนเซน” อยู่บ่อยครั้ง
และครั้งหนึ่งทางการไทย เคยยื่นหนังสือขอตัว ส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปยังกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา แต่ทางการกัมพูชาปฏิเสธไม่ส่งตัว “ทักษิณ” กลับไทย ด้วยเหตุผลเรื่องกระบวนการยุติธรรมของไทย พร้อมตั้งให้ “ทักษิณ” เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของกัมพูชา นอกจากนี้ "ทักษิณ" ยังเคยใช้พื้นที่กัมพูชาจัดเวทีปราศรัยและพบปะกับมวลชนคนเสื้อแดงด้วย
ในปี 2555 ทักษิณ ได้เดินทางเยือนกัมพูชา ร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ ที่จังหวัดเสียมเรียบ และขึ้นร้องเพลง ‘Let It Be’ กลายเป็นไวรัล มีการแชร์ในสังคมออนไลน์
ก่อนที่ “ทักษิณ” เดินทางกลับไทย เมื่อเดือนส.ค. 2566 ก็ได้บินแวะกัมพูชาเพื่อไปอวยพรและร่วมฉลองวันเกิด “ฮุนเซน” ครบรอบ 71 ปี โดยบรรยากาศในตอนนั้นเป็นอย่างชื่นมื่น สร้างให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันอย่างยาวนาน
สำหรับประวัติของ “ฮุนเซน” เกิดในวันที่ 5 ส.ค. 2495 (ในประวัติอย่างเป็นทางการคือวันที่ 4 เม.ย. 2494) ที่เปียมเกาะสนา จังหวัดกำปงจาม ชื่อเดิมคือ ฮุน โบนาล (หรือ ฮุน นาล) เป็นลูกคนที่สามจากลูกทั้งหมด 6 คนของบิดา ฮุน เนียง และภรรยา ดี ยอง เป็นประธานองคมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และเป็นนักการเมืองชาวกัมพูชา รวมถึงเป็นอดีตผู้บัญชาการทหาร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาชนกัมพูชาและสมาชิกรัฐสภากัมพูชา และยังเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในโลก
ในปี 2515 ช่วงกัมพูชาตกอยู่ในสงคราม ฮุนเซน ได้เข้าร่วมกับเขมรแดงเพื่อตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องของ เจ้านโรดมสีหนุ อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่ถูกยึดอำนาจ วันที่ 16 เม.ย. 2518 ฮุนเซนได้รับบาดเจ็บขณะสู้รบในช่วงการล่มสลายของพนมเปญ ที่ดวงตาข้างซ้ายจนทำให้ตาบอดสนิท หลังจากนั้นสองปีได้เข้าร่วมเป็นทหารให้กับเขมรแดง สู้รบในสงครามกลางเมืองกัมพูชา และเป็นผู้บังคับกองพันของกัมพูชาประชาธิปไตย
ต่อมาในปี 2520 ฮุนเซนไม่พอใจกับระบอบการเมืองที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของพลพต จึงเป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยประเทศและประชาชนจากระบอบที่ย่ำแย่ ปี 2521 ได้แปรพักตร์เข้าร่วมกับเวียดนาม โดยแอบหนีทัพเข้าชายแดนเวียดนาม และได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งขบวนการกู้ชาติกัมพูชาที่เรียกว่า “แนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชา” ร่วมมือกับขบวนการรักชาติหลายกลุ่มที่เวียดนาม ให้การสนับสนุนและกองทัพอาสาสมัครเวียดนามเพื่อเข้าปลดปล่อยดินแดนกัมพูชาจากเขมรแดงของกลุ่มพลพต
ปี 2522 ได้นำ กองกำลังเข้าร่วมกับกองทหารจากเวียดนามโค่นล้มระบอบเขมรแดง ทำให้สามารถปลดปล่อยประเทศและประชาชนกัมพูชาจากระบอบฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกัมพูชา ตั้งแต่นั้นมาฮุนเซน ได้กลายเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลและมีชื่อเสียง หลังจากนั้นเวียดนามได้เข้ายึดครองกัมพูชาและสนับสนุนให้ฮุนเซนเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กัมพูชา ตอนอายุ 26 ปี และในปี 2528 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีด้วยวัยเพียง 33 ปี
ย้อนความสัมพันธ์ 32 ปี “สมเด็จฮุน เซน – ทักษิณ” แนบแน่นแค่ไหน?
ผลบอลพรีเมียร์ลีก แมนฯซิตี้ ชนะ เบรนท์ฟอร์ด ฮาลันด์ ซัดประตูโทน
ธปท.เพิ่ม “วันหยุดธนาคาร” รับลูก ครม. สงกรานต์นี้หยุดยาว 12-16 เม.ย.67